ページの先頭です。 メニューを飛ばして本文へ
現在地 トップページ > 総務部 > 県民情報広報課 > เกี่ยวกับสำนักงานเขตฟุกุโอกะ

本文

เกี่ยวกับสำนักงานเขตฟุกุโอกะ

更新日:2019年12月1日更新 印刷

ศาลาว่าการจังหวัดฟุคุโอกะ (โครงสร้างหน่วยงาน)

หน่วยงานและองค์กร

แผนผังโครงสร้างของหน่วยงาน

th-about-prefecture-1

นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการบริหารการเลือกตั้ง, คณะกรรมการบุคคล, สำนักงานผู้สอบบัญชี, คณะกรรมการแรงงาน และอื่นๆ ในฐานะเป็นคณะกรรมการบริหาร

แผนพัฒนาโดยรวมของจังหวัดฟุคุโอกะของจังหวัดฟุคุโอกะ

ตั้ั้งแต่เดือนมีนาคมปี2555 ทางจังหวัดได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็น จังหวัดที่ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น เพื่อให้ประชากรมีความสุขที่จะเกิดและอาศัยอยู่ที่ จังหวัดฟุกุโอกะ  แผนงานที่ครอบคลุมนี้คิดขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายในอุดมคติ ที่ต้องมุ่งมั่นทำและเพื่อวัดความต้องการที่จะทำมันให้สำเร็จ แผนงานใหม่นี้ถูกพัฒนาขึ้นในเดือนมีนาคมปีพศ.2561 โดยมีรากฐานมาจากผลของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และจุดแข็งของจังหวัดฟุกุโอกะ แผนงานนี้มีความพยายามอย่างหนักที่จะไปสู่ จังหวัดที่ประชากรมีความเป็นอยู่ของประชากรที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น เร็วขึ้น เพื่อส่งเสริมการบริหารงานจังหวัด

1 ระยะเวลาของแผน

5 ปี (เริ่มตั้งแต่ปี 2560 - 2564)

2 นโยบายการจัดการ

(1) เป้าหมายสูงสุดของ จังหวัดฟุกุโอกะ

  1. ก่อนหน้านี้ จังหวัดฟุกุโอกะ เคยเป็นจุดศูนย์กลางหลักในการออกสู่เอเชีย ทางด้านชายฝั่งทะเลของญี่ปุ่น
  2. จังหวัดฟุกุโอกะที่ทำให้ความฝันของประชากรเป็นจริงขึ้นมา และให้ความหวังสำหรับอนาคต
  3. จัังหวัดฟุกุโอกะ ที่ทุกคนสามารถตั้งถิ่นฐาน และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

(2)พัฒนานโนบายให้เป็นรูปธรรมจาก 3 ด้าน ก่ารเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ทำให้ประชากรมีความสุข ความอบอุ่น และปลอทภัย

  1. การเติบโตและมีชีวิตชีวา ของเศรษฐกิจ และมีการเกิดโอกาสทางการจ้างงาน
  2. สามารถเลี้ยงดูบุตรหลานได้อย่างปลอดความกังวลใดๆ
  3. เด็กและเยาวชนสามารถสานฝันสู่อนาคต
  4. ผู้หญิงสามารถมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่
  5. ผู้สูงอายุและผู้บกพร่องทางร่างกายสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสุขกายและสุขใจ
  6. ทุกคนสามารถอยู่อย่างมีสุขภาพพลานัยแข็งแรง
  7. สร้างสังคมที่สามารถสัมผัสได้ถึงสายสัมพันธ์แห่งความอบอุ่นร่วมกัน
  8. สามารถเพลิดเพลินกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง
  9. สามารถอยู่อย่างสบายใจและปลอดภัยจากอุบัติภัย อาชญากรรม และภัยพิบัติต่างๆ
  10. สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน

(3)พื้นฐานของการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

  1. ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องโดยตรง, ทัศนคติแบบประชากรเป็นศูนย์กลาง, การบริหารด้วยความอบอุ่น
  2. สร้างความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์ระหว่างเทศบาลต่างๆและ อำเภอต่างๆของคิวชูและอื่นๆ
  3. สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าชื่นชอบเพื่อพัฒนาการประสบความสำเร็จของนโยบาย

(4)การเปลี่ยนแปลงของพลังงานภูมิภาคด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเทศบาลต่างๆ

ใช้หลักการ3นี้ข้อร่วมกันกับเทศบาลต่างๆ  "พัฒนางาน, พัฒนาคน, พัฒนาภูมิภาค"

การคลัง

ประเด็นสำคัญในงบประมาณระยะแรกประจำปี 2563

1. แนวคิดพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ

ในการจัดทำงบประมาณเริ่มต้นสำหรับปี 2563 เราได้มีการกำหนดงบประมาณครอบคลุม 14 เดือนผนวกกับการแก้ไขงบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 (มาตรการทางเศรษฐกิจ) ซึ่งนอกเหนือจากการเร่งการกู้ภัยพิบัติฝนตกหนัก/การฟื้นฟู/การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เราก็ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคเช่นการลดลงของอัตราการเกิด/ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น/ประชากรลดลง ความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และมาถึงยุคของอายุการใช้งาน 100 ปี  และเมื่อมองไปยังการฟื้นฟูส่วนภูมิภาค เรากำลังสร้างชุมชนระดับภูมิภาคที่ประชากรในจังหวัดสามารถทำงาน อาศัย และเติบโตในพื้นที่ที่คุ้นเคยในการดำรงชีวิต

มูลค่าของบัญชีรายรับรายจ่ายทั่วไป 1.8517 แสนล้านเยน (เทียบกับ 65.9พันล้านเย็น ในปีที่แล้ว, เพิ่มขึ้น 3.7%)

2. ข้อมูลงบประมาณโดยสังเขป

(1) ข้อมูลรายรับโดยสังเขป

  • ภาษีจังหวัด และอื่นๆ เพิ่มขึ้น 68.7 พันล้านเยน (8.4%) เนื่องจากผลกระทบของการปฏิรูประบบภาษีเช่นการเพิ่มขึ้นของอัตราภาษีการบริโภคภายในประเทศ
  • การเบิกจ่ายของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น 14.2 พันล้านเยน (6.8%) เนื่องมาจากการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจแห่งชาติ
  • กองทุนทั้ง 3 กองทุนรวมถึงกองทุนสำรองสาธารณะ ได้เบิกจ่าย 2.6 พันล้านเยน เพื่อโปรโมตการลงทุนด้านกีฬา และ 2.8 พันล้านเยน สำหรับมาตรการรายรับ/รายจ่าย

(2) ข้อมูลรายจ่ายโดยสังเขป

  • ค่าใช้จ่ายประกันสังคมเพิ่มขึ้น 13.4 พันล้านเยน (4.0%) เนื่องจากการศึกษาปฐมวัย/ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก/การศึกษาระดับสูง ฟรี และอื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณะเพิ่มขึ้น 31 พันล้านเยน เนื่องจากการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจของประเทศ
  • ทุนจากเทศบาล และอื่นๆ เพิ่มขึ้น 56 พันล้านเยน ควบคู่ไปกับการเพิ่มรายได้ภาษีจังหวัดเนื่องจากการปฏิรูประบบภาษี